เห็ดกระโดงตีนต่ำ


เห็ดกระโดงตีนต่ำ


เห็ดหัวกรวดครีบเขียว, เห็ดกระโดงตีนต่ำ : Chlorophyllum molybdites (Meyer ex Fr.) Mass.

พบบนพื้นดิน ขึ้นตามสนามหญ้าและทุ่งนาทั่วทุกภาคในประเทศไทย มีพิษทำให้เกิดอาการมึนเมา คลื่นเหียนและอาเจียน

ลักษณะของดอกเห็ด เมื่ออ่อนลักษณะเป็นก้อนกลมแล้วเจริญบานออกเป็นรูปร่ม ขึ้นตามสนามหญ้า และทุ่งนา หมวกเห็ด มีสีขาว เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 ถึง 20 เซนติเมตร กลางหมวกมีสีน้ำตาล ซึ่งแตกออกเป็นเกล็ดใหญ่รูปสี่เหลี่ยมกระจายออกไปถึงกึ่งกลางหมวกครีบสีขาว เมื่อเจริญมากขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีขาวอมเขียวอ่อน สีของครีบจะเข้มขึ้นเรื่อยๆ เป็นสีน้ำตาลอมเขียวหม่น เมื่อดอกแก่จัดสีของครีบจะเป็นสีเทาอมเขียวหม่น ครีบไม่ติดกับก้าน ก้านมีรูปทรงกระบอกสีขาวหรือน้ำตาลอ่อน ยาว 6 ถึง 20 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 ถึง 1.8 เซนติเมตร โคนก้านใหญ่ เป็นกระเปาะเล็กน้อย ภายในมีรูกลวงเล็กๆ ตลอดก้านใต้หมวกมีวงแหวนใหญ่และหนา ขอบบนสีน้ำตาล ขอบล่างสีขาว เมื่อแก่จัดวงแหวนจะหลุดเป็นปลอก เนื้อในเห็ดสีขาวตัดแล้วมีสีแดงเรื่อๆ สปอร์รูปไข่สีเขียวอ่อน ขนาดกว้าง 6.5 ถึง 8 ไมครอน ยาว 9 ถึง 11 ไมครอน ผิวเรียบ ผนังหนา ปลายบนมีรูเปิด 1 รู

อาการพิษ ทำให้เกิดอาการมึนเมา คลื่นเหียน และอาเจียน


ที่มา : หนังสือเห็ดพิษ ของสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย

(The Mushroomresearchers and Growers Society of Thailand.)พิมพ์ครั้งที่ 1 ปี 2543

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น