เห็ดรูประฆัง


Coprinus atramentarius (Bull.) Fr.


ชื่อพื้นเมือง เห็ดรูประฆัง สีขาวนวลหรือสีน้ำตาลอ่อน เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-4 เซนติเมตร

หมวกเห็ด มีเนื้อหนากว่าเห็ดถั่วชนิดอื่น ขอบหมวกสีเทาดำเมื่อเริ่มมีดอกแก่และมักจะฉีกขาดเป็นแห่งๆ

ครีบ มีสีขาวและเปลี่ยนเป็นสีดำและย่อยตัวเองเป็นของเหลวสีดำ ครีบไม่ติดก้าน

ก้าน รูปทรงกระบอก ยาว 5-11 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 3-4 มิลลิเมตร

รูปทรง กระบอก ผิวเรียบ เป็นมันเงา สีขาว โคนก้านสีขาวนวลหรือน้ำตาลอ่อนปกติจะมีวงแหวนบริเวณโคนก้านซึ่งหลุดออก

สปอร์ สีดำ รูปผลมะนาว ผิวเรียบ ผนังหนา ปลายบนมีรูเปิด ขนาด 7-8 ไมโครเมตร

ชอบขึ้นบนอินทรียวัตถุ เช่น กองเปลือกถั่วเหลืองเกิดดอกเป็นกลุ่มใหญ่เพื่อ ความปลอดภัยห้ามดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ หลังรับประทานเห็ด

เพราะสารพิษทำให้มึนเมาจนหมดสติได้ แต่จะหายใจเป็นปกติภายใน 3-4 ชั่วโมง


ที่มา : หนังสือเห็ดพิษ ของสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย
(The Mushroomresearchers and Growers Society of Thailand.)พิมพ์ครั้งที่ 1 ปี 2543

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น